วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดหน่วยการเรียนรู้ที่ 9

1.การรายงานผลมีความสำคัญอย่างไร ต่อการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
ตอบ  การรายงานผลการดำเนินงานการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นส่วนสำคัญในการแสดงข้อมูลอย่างเป็นระบบให้กับผู้บังคับบัญชา หรือสาธารณชนได้รับทราบผลการดำเนินงาน และเป็นการนำเสนอเพื่อปรับปรุงในการดำเนินงานครั้งต่อ ๆ ไป

แบบฝึกหัดหน่วยการเรียนรู้ที่ 8

1. สิ่งสำคัญเบื้องต้นของการประสานงานมีอะไรบ้าง
ตอบ 1. การจัดวางหน่วยงานที่ง่าย (Simplified Organization) 
ในการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้การจัดวางหน่วยงานควรคำนึงถึง 
ก. การแบ่งแผนกซึ่งช่วยในการประสานงาน กล่าวคือ การจัดแผนกต่าง ๆ บางแผนกมีความจำเป็นต้องประสานกันควรอยู่ใกล้ชิดกันเนื่องจากการติดต่ออย่างไม่เป็นทางการระหว่างผู้ที่ทำงานอันเกี่ยวเนื่องอย่างใกล้ชิดกันมากขึ้น 
ข. การแบ่งตามหน้าที่ 
ค. การจัดวางรูปงานและระเบียบการที่ชัดแจ้งแก่ทุก ๆ คนที่เกี่ยวข้อง
2. การมีโครงการและนโยบายอันสอดคล้องต้องกัน(Harmonized Program and Policies)
3. การมีวิธีติดต่องานภายในองค์การที่ทำไว้ดี (Well – Designed Methods of Communication) 
เครื่องมือที่ช่วยในการติดต่อส่งข่าวคราวละเอียด ได้แก่ 
ก. แบบฟอร์มในการปฏิบัติงาน (Working Papers) 
ข. รายงานเป็นหนังสือ (Written report) 
ค. เครื่องมือวิทยาศาสตร์ในการติดต่องาน เช่น ระบบการติดต่อภายในโรงพิมพ์ เป็นต้น 
4.เหตุที่ช่วยให้มีการประสานงานโดยสมัครใจ (Aids to Voluntary Coordination)  
การประสานงานส่วนมากมักจะเกิดขึ้นจากการร่วมมือโดยสมัครใจของบุคลากรในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
5. ประสานงานโดยวิธีควบคุม (Coordination through Supervision) หัวหน้างานมีหน้าที่จะต้องคอยเฝ้าดูการดำเนินปฏิบัติงานต่าง ๆ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างสอดคล้องและจะต้องใช้วิธีประเมินผลการปฏิบัติงานทุกระยะจะได้ทราบข้อบกพร่องหาทางแก้ไขให้การ
ปฏิบัติงานถูกต้องยิ่งขึ้น
2. เทคนิคการประสานงาน (Techniques Coordination) มีอะไรบ้าง
ตอบ 1. จัดให้มีระบบการติดต่อสื่อสารทั้งภายในหน่วยงานและภายนอก
หน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพ 
2. การกำหนดอำนาจหน้าที่และตำแหน่งงานอย่างชัดเจน 
3. การสั่งการและการมอบหมายอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ 
4. การใช้คณะกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่ประสานงานโดยเฉพาะการประสานงานภายในองค์การ 
5. การจัดให้มีการประสานงานระหว่างพนักงานในองค์การ 
6. การจัดให้มีการฝึกอบรมและพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา 
7. การติดตามผล 
3. จงอธิบายอุปสรรคของการประสานงาน มาพอเข้าใจ
ตอบ อุปสรรคของการประสานงานคือ การทำงาน

ขาดความเข้าใจ
ระหว่างผู้ปฏิบัติงานด้วยกัน ไม่มี
ผู้บังคับบัญชา
มีความสามารถ  ปฏิบัติงานไม่มีแบบแผนไม่มีขั้นตอนในการดำเนินงาน ไม่มีการแบ่งหน้าที่อย่างชัดเจนอาจจะเป็นเพราะไม่มีการติดต่อสื่อสารกันให้เข้าใจรวมถึงความร่วมมือกันในการทำงาน แล้วอาจจะยังขาดคำแนะนำความชำนาญในการปฏิบัติงาน และอาจจะยังหมายถึงการที่หน่วยงานแต่ละหน่วยทำงานแตกต่างกันอาจจะเกิดมาจากการกุมอำนาจหรือการกระจายอำนาจมากเกินไป


4. จากทฤษฎีที่ศึกษามานิสิตคิดว่าศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ใดบ้างที่มีปัจจัยที่ทำให้เกิดการประสานงานที่ดีจงยกตัวอย่างศูนย์ฯ พร้อมอธิบาย
ตอบ   พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ทางทะเล 

ส่วนแรก (หมายเลข 2 ในแผนผังการจัดแสดง) จัดแสดงนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ เกี่ยวกับพระราชกรณีกิจทางด้านการฟื้นฟู อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และด้านวิทยาศาสตร์การประมง

http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a5/R0012760.JPGhttp://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a5/R0012768.JPG

ส่วนที่สอง จัด แสดงนิทรรศการเกี่ยวกับเรื่องราวของทะเล ระบบนิเวศ และสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในทะเล รวมทั้งความสำคัญของทะเลที่มีต่อมนุษย์ ดังมีรายละเอียดดังนี้
1.นิทรรศการเรื่องราวของอาณาจักรของสิ่งมีชีวิตในทะเล  โดยให้ความรู้ตั้งแต่สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กๆที่อาศัยอยู่ในทะเล คือ แพลงก์ตอนซึ่งมีบทบาทสำคัญของห่วงโซ่อาหารในทะเล สาหร่าย และหญ้าทะเล ฟองน้ำ สัตว์ที่มีโพรงลำตัว เช่น ปะการัง ดอกไม้ทะเล แมงกะพรุน เป็นต้น สัตว์จำพวกหนอนทะเล เช่น หนอนตัวแบนหนอนปล้อง หนอนริบบิ้น เป็นต้น สัตว์จำพวกหอย เช่น หอยฝาเดียว หอยฝาคู่ หมึก และหอยงวงช้าง เป็นต้น สัตว์ที่มีข้อปล้องในทะเล เช่น ปู กุ้ง กั้ง และแมงดาทะเล เป็นต้น สัตว์จำพวกคอร์เดทในทะเล เช่น เพรียงหัวหอม แอมฟิออกซัส และสัตว์ทะเลที่มีกระดูกสันหลัง ชนิดต่างๆ ได้แก่ ปลาทะเล โลมา พะยูน เต่าทะเล และจระเข้น้ำเค็ม รวมทั้งเรื่องราวของทะเล และสิ่งมีชีวิตในทะเลยุคดึกดำบรรพ์ เป็นต้


                               http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a5/R0012814.JPGhttp://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a5/R0012820.JPG 
2.นิทรรศการเรื่องราวของทะเล และระบบนิเวศในทะเล ในส่วนนี้จะกล่าวถึงการแบ่งเขตของทะเล และระบบนิเวศต่างๆในทะเล รวมทั้งพืช และสัตว์ทะเลที่อาศัยอยู่ในแต่ละระบบนิเวศ โดยเริ่มตั้งแต่ ระบบนิเวศของป่าชายเลนระบบนิเวศหาดหิน ระบบนิเวศหาดทราย และหาดโคลน ระบบนิเวศแนวปะการัง เป็นต้น 
http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a5/R0012771.JPGhttp://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a5/R0012770.JPG
3.นิทรรศการเกี่ยวกับความสำคัญของทะเลที่มีต่อมนุษย์  เป็นส่วนที่จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับความสำคัญของทะเลที่มีต่อมนุษย์ เช่น เป็นแหล่งทำการประมงโดยใช้เครื่องมือประมงทะเล เช่น โป๊ะ และเรือประมงทะเลชนิดต่างๆ เป็นเส้นทางค้าขาย และเดินทางติดต่อกันของมนุษย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งต้องพบกับอุปสรรคนานาประการจากคลื่น ลม และพายุ จนทำให้เรืออัปปางเกิดเป็นเรื่องราวของการขุดค้น และศึกษาโบราณคดีใต้น้ำเป็นต้น
http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a5/R0012843.JPGhttp://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a5/R0012849.JPG
4.ห้องพิพิธภัณฑ์เปลือกหอย และวิวัฒนาการของหอย ในห้องนี้จะจัดแสดงเกี่ยวกับเปลือกหอยที่พบในทะเลกลุ่มต่างๆ ได้แก่ ลิ่นทะเล หอยฝาเดียว หอยฝาคู่ หอยงวงช้าง และหอยงาช้าง เป็นต้น รวมทั้งนิทรรศการความรู้เกี่ยวกับหอยแต่ละกลุ่ม วิวัฒนาการของหอยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และการแบ่งกลุ่มของหอยที่มีอยู่ในโลก
                               http://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a5/R0012857.JPGhttp://www.bims.buu.ac.th/Document/2552/%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%93%e0%b8%91%e0%b9%8c%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%a5/R0012861.JPG







วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดหน่วยการเรียนรู้ที่ 7

         1.กระบวนการผลิตทรัพยากรการเรียนรู้มีกี่ขั้นตอนอะไรบ้าง
ตอบ  กระบวนการผลิตทรัพยากรการเรียนรู้มี 7 ขั้นตอน ดังนี้
1. กำหนดจุดมุ่งหมายและบทบาทของสื่อให้ชัดเจน
2. เลือกสื่อที่เหมาะสม
3. ออกแบบสื่อ
4. ผลิตสื่อ
5. ทดสอบสื่อ
6. เผยแพร่สื่อ และนาไปใช้
7. การตรวจสอบและบำรุงรักษาสื่อ


       2.รูปแบบของการให้บริการทรัพยากรการเรียนรู้มีกี่ประเภท อะไรบ้าง จงยกตัวอย่างพร้อมอธิบาย
ตอบ  รูปแบบของการให้บริการทรัพยากรการเรียนรู้มี 5 ประเภท ดังนี้
               1.แบบสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทเดียว
คือ  เป็นการให้บริการเฉพาะสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือ นิตยสาร โดยมีมุมต่างๆ ในการให้บริการ ได้แก่ ห้องสมุด
         2.แบบผสมผสานระหว่างสื่อสิ่งพิมพ์และอิเล็กทรอนิกส์
คือ  เป็นการให้บริการให้ความรู้ทั้งหนังสือ วารสาร นิตยสาร และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่บรรจุเนื้อหาในรูป      
         3.แบบบริการทรัพยากรการเรียนรู้สมบูรณ์
คือ  การจัดสื่อสิ่งพิมพ์ และวัสดุ อุปกรณ์ สื่อโสตทัศน์ที่หลากหลายมารวมไว้ในจุดบริการเดียวกัน ซึ่งมีกระบวนการวิธีระบบและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้เข้ามาใช้ โดยจัดให้ผู้ชำนาญเฉพาะสาขาเข้ามาดาเนินการให้บริการ
              4.แบบนิทรรศการ
โดยนำเสนอในรูปแบบของการบริการให้ความรู้ ในรูปแบบของนิทรรศการถาวร โดยนาแหล่งการเรียนรู้ที่กระจัดกระจาย มานาเสนอในรูปแบบของนิทรรศการถาวร หรืออาจมีนิทรรศการหมุนเวียนตามเหตุการณ์สำคัญ ๆ ที่ผู้ขอรับบริการสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อที่หลายในนิทรรศการ นั้น ๆ โดยมีการให้เข้าเยี่ยมชม เช่น พิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ
             5.แบบบันเทิงศึกษา
หมายถึง สถานที่ที่ให้บริการความเรียนรู้ที่รวบรวมรวมสื่อ วัสดุ อุปกรณ์และวิธีการที่หลากหลายแบบมาบูรณาการ ซึ่งประกอบด้วย การเรียนรู้ การลงมือปฏิบัติ ความสนุกสนานเพลิดเพลิน ที่พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองและเป็นแหล่งการเรียนรู้นอกห้องเรียน ในรูปแบบของสื่อปฏิสัมพันธ์

3.การบริการทรัพยากรการเรียนรู้คืออะไร
ตอบ  การบริการทรัพยากรการเรียนรู้ คือ กิจกรรมที่นักเทคโนโลยีการศึกษา หรือผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบซึ่งแสดงถึงจิตใจ และพฤติกรรมการแสดงออกในการให้ความรู้ ด้วยทรัพยากรทั้งวัสดุ อุปกรณ์ หรือวิธีการ ถึงการให้ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งเพื่อให้ผู้รับนั้นพึงพอใจ และเกิดการเรียนรู้จากทรัพยากรการเรียนรู้นั้น ๆ

4.ขอบข่ายของงานบริการทรัพยากรการเรียนรู้มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ  ขอบข่ายของงานบริการทรัพยากรการเรียนรู้มี
                ผลิตสื่อ
·                          ออกแบบและพัฒนาสื่อเพื่อการเรียนรู้
·                          ส่งเสริมการนาเสนอสื่อในรูปแบบใหม่  
               เผยแพร่
·                         ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข่าวสารต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย                                         
              ให้ความรู้
·                         นำสื่อในรูปแบบที่หลากหลายมากให้กลุ่มเป้าหมายได้ศึกษา โดยมีการให้คาแนะนำ หรืออาจมีกิจกรรมเช่น นิทรรศการ จัดฝึกอบรม ต่าง ๆ

วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 6

1.ให้สรุปความหมายของการสั่งการมาพอเข้าใจ
ตอบ การสั่งการมาจากคำว่าการอำนวยการซึ่งหมายถึง การจัดการของผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจในการสั่งการตามหน้าที่ความรับผิดชอบ ชี้แนะ บุคคล การนิเทศงาน และการติดตามผล เพื่อให้งานดำเนินไปตามแผนหรือเป้าหมายที่กำหนดไว้

2.ขั้นตอนการสั่งการหรือการอำนวยการมีอะไรบ้าง
ตอบ 1.ด้านการวางแผน: มีส่วนในการกำหนดวัตถุประสงค์ กำหนดลักษณะงาน ช่วยตีความนโยบายขององค์การให้บุคลากรทราบ พัฒนาสิ่งใหม่ ปรับปรุงระบบและวิธีปฏิบัติให้ดีขึ้น
        2.ด้านการจัดองค์การ: มอบหมายงาน แบ่งงาน กำหนดมาตรฐานงาน กำหนดสายบังคับบัญชาและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ดูแลการปฏิบัติงาน
        3.ด้านการปฏิบัติการของผู้อานวยการ: กำหนดการเปลี่ยนแปลงบุคคล ประเมินผลการปฏิบัติแต่ละคน ฝึกบุคคลไว้ทดแทน ดูแลความสัมพันธ์และขวัญแก่บุคลากร ศึกษาความจำเป็นและต้องการของบุคลากร
       4.ด้านการควบคุม: ติดตามวิธีการและขบวนการปฏิบัติ กำหนดมาตรฐานสำหรับงานแต่ละอย่าง วัดผลผลิต ตรวจสอบความถูกต้องและปริมาณงาน

3.องค์ประกอบของการอำนวยการมีอะไรบ้าง
ตอบ 1.ความเป็นผู้นำ เป็นกระบวนการของการสั่งการ และการใช้อิทธิพลต่อกิจกรรมต่างๆ ของสมาชิกในองค์การ ให้ยอมตามเพราะยอมรับในอำนาจที่มาจาก 3 แหล่ง คือ ขนบธรรมเนียมประเพณีที่สืบทอดกันมา อำนาจจากบารมี และอำนาจตามกฎหมาย จึงก่อให้เกิดผู้นำ 3 แบบ คือ แบบประชาธิปไตย แบบเผด็จการ และแบบตามสบาย
          2.การจูงใจ มีความสำคัญต่อการสั่งการหรือการอำนวยการ เพราะเกี่ยวกับบุคลากรให้ปฏิบัติงาน จึงจำเป็นต้องมีการจูงใจหรือกระตุ้นให้อยากทำงาน โดยอาศัยหลักธรรมชาติว่ามนุษย์ต้องการ 5 ระดับได้แก่ ความต้องการขั้นพื้นฐาน คือปัจจัย 4 ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย ความต้องการทางสังคม ความต้องการมีเกียรติยศชื่อเสียง และความต้องการประสบความสำเร็จในชีวิต
         3. การติดต่อสื่อสาร เป็นกระบวนการสำคัญช่วยให้การอำนวยการดำเนินไปได้ด้วยดีมีประสิทธิภาพ มี 2 ลักษณะคือ สื่อสารแบบทางเดียว และสื่อสารแบบ 2 ทาง
        4. องค์การและการบริหารงานบุคคล จุดมุ่งหมายของนักอำนวยการคือ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและองค์การ ซึ่งต้องการไม่เหมือนกันผู้อำนวยการจึงต้องทำให้เกิดความสมดุลกัน

4.ให้นิสิตอธิบายความสำคัญของการสั่งการกับการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้มาอย่างน้อย 5 ข้อ
ตอบ 1.การสั่งการ ทำให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ งานดำเนินการไปได้ด้วยดีตามแบบแผนที่ได้วางไว้
        2. มีการวางเป้าหมายในการทำงานที่ชัดเจนทำให้ผลงานออกมาดี
        3.ทำให้พนักงานทำงานไปในทิศทางเดียวกันในทางที่เหมาะสม ในทางที่ดี     
       4.ทำให้ทราบว่าการเรียนรู้นั้นไม่จำเป็นจะต้องมีเฉพาะในห้องเรียนเท่านั้น
       5.ทำให้มีแนวคิด อีกด้านหนึ่งที่อาจจะยังไม่เคยรู้มาก่อ

วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2554

แบบฝึกหัดหน่วยการเรียนรู้ที่ 5

1.อธิบายภารกิจหรือกิจกรรมที่สำคัญ ของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้มีอะไรบ้าง
ตอบ 1. การจัดหาสื่อประเภทต่างๆ ไว้สำหรับบริการ
        2. การผลิตสื่อเพื่อนำมาใช้ในการเรียนการสอน
        3. การจัดระบบ จัดเก็บ แยกหมวดหมู่และจัดทำทะเบียน
        4. การบริการให้ยืมวัสดุ เครื่องมืออุปกรณ์
        5. การให้คำปรึกษา แนะนำการใช้และการผลิตสื่อ
        6. การวิจัยและพัฒนาสื่อ

2.ถ้าหากพิจารณาบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้จะประกอบด้วยบุคคลด้านต่างๆดังนี้
ตอบ  1. ด้านบริหาร โดยต้องมีการกำหนดวิสัยทัศน์ จุดมุ่งหมายและภารกิจต่างๆ ให้ครอบคลุมงานหรือสิ่งที่ต้องทำ โดยต้องมีฝ่ายรับผิดชอบ ดังนี้
          1.1    หัวหน้าหน่วยงาน ซึ่งอาจเรียกได้ว่า หัวหน้าศูนย์หรือผู้อำนวยการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ก็ได้
          1.2    หัวหน้างานหรือหัวหน้าฝ่าย จะมีหน้าที่ความรับผิดชอบงานในแต่ละฝ่าย
          1.3    เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป จะมีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการควบคุมการจัดการงานต่างๆ
          1.4    พนักงานธุรการ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านต่างๆ 
           1.5    เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล จะมีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการบันทึกข้อมูลต่างๆลงในคอมพิวเตอร์หรือพิมพ์เอกสาร
                2. ด้านการบริการ เป็นภารกิจของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ที่นำโครงการต่างๆออกสู่ กลุ่มเป้าหมาย
            2.1  บรรณารักษ์ โดยจะมีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดหา
2.2  นักวิชาการคอมพิวเตอร์ จะมีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการติดตั้งการใช้คอมพิวเตอร์
2.3 นายช่างอิเล็กทรอนิกส์ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการซ่อมบำรุงรักษา ติดตั้ง
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
2. ด้านการผลิตสื่อ บุคลากรที่มีหน้าที่รับผิดชอบ
นักวิชาการโสตทัศนศึกษา จะมีหน้าที่ความรับผิดชอบในการออกแบบและผลิตสื่อการเรียนการสอนในระดับต่างๆ
นักวิชาการช่างศิลป์ จะมีหน้าที่ความรับผิดชอบในด้านการออกแบบภาพประเภทต่างๆ
3. ด้านวิชาการ ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ต้องมีบทบาทและหน้าที่ในการศึกษาค้นคว้า
4. ด้านการปรับปรุงการเรียนการสอน ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ต้องมีภารกิจหน้าที่ความรับผิดชอบต่อการศึกษาเป็นสำคัญ
5. ด้านกิจกรรมอื่น เช่น มีบทบาทหน้าที่ประชาสัมพันธ์สถาบันต่อชุมชนจัดนิทรรศการหรือจัดการแสดงความก้าวหน้าต่างๆ

3.ผู้ปฏิบัติงานในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ จำแนกเป็นประเภท3 ประเภทใหญ่ๆ คือ
     1. บุคลากรทางวิชาชีพ ได้แก่ บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ทางด้านเทคโนโลยีทางการศึกษาหรือโสตทัศนศึกษาระดับปริญญาซึ่งถือว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ (Media Specialists) หรือบางที่อาจเรียกว่านักวิชาการการโสตทัศนศึกษาก็ได้
      2 บุคลากรกึ่งวิชาชีพ บุคลากรกึ่งวิชาชีพ คือ บุคคลที่ได้วุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพโดยมีหน้าที่ช่วยเหลือบุคลากรทางวิชาชีพเกี่ยวกับด้านเทคนิค
หรือด้านบริการ
      3 บุคลากรที่ไม่มีความรู้ทางวิชาชีพ บุคลากรประเภทนี้ทำหน้าที่ทางด้านธุรกิจ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ฯลฯ

4.ท่านมีขั้นตอนในการจัดหาสื่อการเรียนการสอน มาใช้บริการในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
ขั้นตอนที่ 1 เป็นขั้นการสำรวจสภาพของสื่อในสถานศึกษาเพื่อสำรวจหาข้อเท็จจริงเบื้องต้นเป็นข้อมูลมาประกอบการจัดหา1.การสำรวจสื่อวัสดุ  2. การสำรวจเครื่องมือ
ขั้นตอนที่ 2 การสำรวจสถานที่ เป็นขั้นตอนการสำรวจวางแผนจะให้สถานที่ส่วนใดบ้างในการทำกิจกรรม เพื่อเป็นการตรวจสอบดูว่ามีสถานที่  และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ต้องการมีเพียงพอแล้วหรือยังและจะต้องการจัดหาอะไรเพิ่มเติมบ้าง
ขั้นตอนที่ 3 การสำรวจความต้องการของผู้ใช้ เพื่อต้องการทราบถึงความต้องการใช้สื่อประเภทต่างๆ โดยนำข้อมูลที่ได้ไปดำเนินการจัดหาให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช
ขั้นตอนที่ 4 เป็นขั้นการจัดหา โดยนำข้อมูลที่ได้มาจากความต้องการแล้วทำเป็นโครงการสั้นๆ หรือโครงการระยะยาวเพื่อวางแผนในเรื่องงบประมาณในการจัดหาต่อไป

5.อธิบายวิธีการจัดซื้อจัดหาวัสดุครุภัณฑ์เพื่อมาใช้ในกิจกรรมและบริการ ท่านมีหลักเกณฑ์สำคัญ อะไรบ้าง
     1.ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ควรมีแหล่งที่จำหน่ายโสตทัศนูปกรณ์แต่ละประเภทไว้สำหรับเป็นข้อมูลในการจัดซื้อ
     2.ผู้ทำหน้าที่ในการจัดหาสื่อ ควรไปศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องมือจากแหล่งร้านค้า เพื่อติดตามการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสื่อและจะได้มีโอกาสศึกษาจากเครื่องมือหรืออุปกรณ์นั้นโดยตรง
     3.ควรสำรวจราคาของสื่อแต่ละประเภทเป็นระยะๆเพื่อประโยชน์ในการจัดตั้งงบประมาณ

6.การบริหารงานบุคคลหมายถึงศิลปะในการสรรหาและคัดเลือกบุคคลเข้ามาทำงานในองค์การ มอบหมายงาน พัฒนาบุคคลและให้พ้นจากงาน โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพของเป้าหมายหรือบริการของศูนย์ฯ หรือหน่วยงานเป็นสำคัญ

7.หลักการบริหารงานบุคคลมี 2 ระบบ คือ   
             1. ระบบคุณธรรม Merit System ใช้หลักเกณฑ์
                  1.1 หลักความเสมอภาค เช่น มีสิทธิสอบได้ทุก
                  1.2 หลักความสามารถ เช่น คัดเลือกผู้มีความสามารถสูงไว้ก่อน
                  1.3 หลักความมั่นคง เช่น ถ้าไม่ผิดวินัย ก็ไม่ถูกลงโทษให้ออก อยู่จนเกษียณ
                  1.4 หลักความเป็นกลางทางการเมือง เช้า ห้ามข้าราชการเป็นกรรมการบริษัท
              2. ระบบอุปถัมภ์ Patronage System ยึดถือพวกพ้อง เครือญาติ หรือผู้มีอุปการคุณ

8.การจำแนกตำแหน่ง จำแนกได้ 3 ประเภท คือ
           1.จำแนกตำแหน่งตามลักษณะตำแหน่ง Position Classification เป็นการจำแนกตำแหน่งโดยถือ ลักษณะความรับผิดชอบของตำแหน่งเป็นสำคัญ
           2.การจำแนกตำแหน่งตามลักษณะยศ Rank Classification เป็นการจำแนกตำแหน่งตามตำแหน่งที่ประกอบกับชั้นยศ ใช้กับทหาร ตำรวจ
            3.การจำแนกตำแหน่งตามลักษณะชั้นยศทางวิชาการ Academic Rank Classification จำแนก  ตามคุณลักษณะความเชี่ยวชาญ วิชาการ เช่น ครู อาจารย์

9.ขั้นตอนของกระบวนการวางแผนกำลังคน ได้แก่
          1. ศึกษานโยบายและแผนขององค์การ กระบวนการวางแผนกำลังคนต้องให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนขององค์การ
          2.การตรวจสภาพกำลังคน; ค้นหาอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับสภาพกำลังคนที่มีอยู่ในองค์การ
          3.การพยากรณ์ความต้องการกำลังคน คล้ายกับการตรวจสภาพกำลังคน แต่การพยากรณ์มุ่งเน้นอนาคต
          4.การเตรียมหาคนสำหรับอนาคต

10.การงานแผนกำลังคนที่ดีต้องทราบสาระดังนี้
          1. ภาระงาน หน้าที่ความรับผิดชอบชั่วโมงงาน
          2. การออกแบบงาน  เป็นการออกแบบโครงสร้างงานต่างๆ ทั้งองค์การว่ามีกลุ่มงานอะไรบ้าง
          3. การวิเคราะห์งาน วิเคราะห์งานแต่ละตำแหน่ง กำหนดคุณลักษณะที่จำเป็นแต่ละตำแหน่ง
          4. รายละเอียดของตำแหน่งงาน เป็นการกำหนดชื่อตำแหน่งงานที่ต้องปฏิบัติ
          5. คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง เป็นการกำหนดรายละเอียดในตำแหน่งลึกลงไปอีก
          6. การทำให้งานมีความหมาย เป็นวิธีการจูงใจและพัฒนาบุคลากรให้เกิดความพึงพอใจในการทำงาน

11.บุคลากรด้านทรัพยากรการเรียนรู้มี 3 ประเภท
          1.ด้านบริหาร โดยมีการกำหนดวิสัยทัศน์ จุดมุ่งหมายและภารกิจต่างๆ
          2.ด้านการบริการ เป็นภารกิจของศูนย์สื่อการศึกษาที่นำโครงการต่างๆออกสู้กลุ่มเป้าหมาย
          3.บุคลากรด้านการผลิตสื่อ

วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554

แบบฝึกหัดท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 3-4-5 รายวิชา 423312 Learning Resources Center Management

คำสั่ง :  ให้นิสิตเขียนอธิบายคำตอบตามเงื่อนไขต่อไปนี้ 

1. ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ถ้าแบ่งตามกลุ่มเป้าหมายของระบบการศึกษาได้กี่ประเภท อะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ ประเภทของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้แบ่งได้ 3 ประเภท คือ 1.การศึกษาในระบบ 2.การศึกษานอกระบบ   3.การศึกษาตามอัธยาศัย
1.     ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษาในระบบโรงเรียน หมายถึงหน่วยงานที่สนับสนุนการเรียนการสอนทั้งสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ซึ่งมีการดำเนินการได้หลายลักษณะและมีชื่อเรียกต่างกัน ได้แก่ ศูนย์สื่อการศึกษา  หรือหน่วยบริการสื่อการศึกษา,ศูนย์โสตทัศนศึกษา หรือหน่วยโสตทัศนศึกษา,ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา หรือหน่วยเทคโนโลยีการศึกษา,ศูนย์วิทยาการ หรือสถาบันวิทยบริการ, ศูนย์ทรัพยากรการศึกษา หรือศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ ชื่อเรียกศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ ได้แก่ ศูนย์วัสดุการเรียน, ศูนย์โสตทัศน์และห้องสมุด, ศูนย์วัสดุอุปกรณ์การศึกษา ศูนย์สื่อการสอน,ศูนย์โสตทัศนวัสดุ, ศูนย์วัสดุการสอนหรือศูนย์วัสดุการศึกษา ศูนย์โสตทัศนูปกรณ์ หรือหน่วยบริการโสตทัศนูปกรณ์, สำนักเทคโนโลยีการศึกษา, ศูนย์เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา  เป็นต้น
2.    ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษานอกระบบเป็นศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ ที่มีเป้าหมายโดยมุ่งการให้บริการกับผู้เรียนที่มีจุดมุ่งหมายที่จะให้ผู้เรียนได้รับความรู้ด้านพื้นฐาน ทักษะในการประกอบอาชีพและทักษะ ที่จำเป็นสำหรับความรู้ด้านอื่นๆ เป็นฐานในการดำรงชีวิต  เช่น ศูนย์ฝึกอาชีพ, ศูนย์การเรียน เป็นต้น
3.   ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษาตามอัธยาศัย เป็นศูนย์รวมและให้บริการความรู้โดยมุ่งใหกลุ่มเป้าหมาย ได้ศึกษาจากประสบการณ์การทำงาน บุคคล ครอบครัว สื่อมวลชน ชุมชน แหล่งความรู้ต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ความบันเทิง และการพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ เป็นต้น

2. ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร จงอธิบาย
    ตอบ 1.การศึกษาในระบบโรงเรียน เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลา  การศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษา มีครูผู้สอน สื่ออุปกรณ์ รูปแบบวิธีการสอนสถานที่ศึกษา  
           2.การศึกษานอกระบบโรงเรียน เป็นการศึกษาที่จัดให้กับประชาขนทุกเพศ ทุกวัย ไม่จำกัดพื้นฐานการศึกษาอาชีพ ประสบการณ์หรือความสนใจ มีจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนได้รับความรู้พื้นฐาน ทักษะในกาประกอบอาชีพ มีความยืดหยุ่นมากกว่าการศึกษาในระบบ เนื้อหาหลักสูตรมีความเหมาะสมสอดคล้องกับวิถีชีวิต
          3.การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่เกิดขึ้นตามวิถีชีวิตที่ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองตามความ สนใจศักยภาพ ความพร้อม และโอกาส ศึกษาจากประสบการณ์การทำงาน บุคคล ครอบครัว สื่อมวลชน ชุมชน แหล่งความรู้ ต่างๆ ไม่มีหลักสูตร ไม่มีเวลาเรียนที่แน่นอน ไม่จำกัดอายุ ไม่มีการลงทะเบียน ไม่มีการสอบ ไม่มีการรับประกาศนียบัตร ไม่มีสถานที่ศึกษาแน่นอน

3.    ให้นิสิตหาตัวอย่างศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ประเภท ละ 3 ศูนย์ พร้อมบอกสถานที่ตั้งและ
กลุ่มเป้าหมายของศูนย์นั้น ๆ พร้อมแหล่งอ้างอิง
     ตอบ   
 1.ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษาในระบบโรงเรียน
    1.1      สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา  เป้าหมาย  ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศทุกรูปแบบ ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ http://www.lib.buu.ac.th/
      1.2      ห้องเรียนสีเขียว เป้าหมาย  เพื่อปลูกฝังทัศนคติในการใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัดรู้คุณค่าและรักษาสิ่งแวดล้อม  http://www.act.ac.th/act_greenroom/project.html
     1.3      ห้องสมุดโรงเรียน เป้าหมาย ส่งเสริมให้นักเรียนจัดทำบันทึกการอ่านเรื่องราวที่น่าสนใจจากสื่อความรู้ทุกประเภท  เพื่อประโยชนต่อการเรียนการดำรงชีวิต  สามารถปรับตัวให้เหมาะสมกับสถานการณปัจจุบันโดยสอดแทรกในวิชาการใช้ห้องสมุด   และกลุ่มสาระวิชาต่าง ๆ http://61.19.27.150/~library/
2.ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษานอกระบบ
   2.1 ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทย (การทอผ้า) เป้าหมาย พื่อสร้างอาชีพสร้างรายได้ และเสริมความ มั่นคงในชุมชนท้องถิ่น และเป็นการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมของชาวไทลื้อ ผ่านลายผ้าโบราณที่ สืบต่อกันมา http://www.thaiwisdom.org/p_pum/center_pum/c_pume.htm#9
  2.2 ภูมิปัญญาเครื่องสีข้าวไม้ไผ่สมัยโบราณ เป้าหมาย เพื่อให้ทราบถึงภูมิปัญญาในสมัย ก่อนว่ามีการสีข้าวในลักษณะนี้ http://www.baanmaha.com/community/thread35241.html
   2.3 สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล เป้าหมาย รวบรวมตัวอย่างพืชและสัตว์น้ำใต้ทะเล นานาชนิดที่พบในอ่าวไทยและทะเลอันดามันเพื่อที่จะให้ผู้คนเข้ามาศึกษาเข้ามาชม  http://www.bims.buu.ac.th/j3/
3.ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษาตามอัธยาศัย
   3.1 มิวเซียมสยาม พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ เป้าหมาย อธิบายถึงความเป็นมาของประเทศไทย  ทั้งด้าน เชื้อสาย ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีจนมาเป็นเชื้อชาติไทยเหมือนทุกวันนี้ http://www.ndmi.or.th/about/project                                                                                         
  3.2  สวนพฤกษศาสตร์ เป้าหมาย เพื่อใช้ในการศึกษาค้นคว้าวิจัย เพื่อให้ได้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับพืช http://web3.dnp.go.th/botany/Gardens/garden.html
  3.3   แหล่งการเรียนรู้พญาเร่ เป้าหมายเพื่อเป็นที่สักการะของลูกเสือ  และผู้ที่เคารพนักถือ เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ http://chon.nfe.go.th/learn/index.php?menu=bao_3

4.    ให้นิสิตแต่ละคน หาตัวอย่างของศูนย์สำหรับการศึกษาตามอัธยาศัยมา คนละ 1 ศูนย์ โดยต้องอธิบายดังรายละเอียดต่อไปนี้
ตอบ  มิวเซียมสยาม พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้
4.1  นโยบาย ของศูนย์ วิสัยทัศน์ และกลุ่มเป้าหมายของศูนย์
  นโยบาย : เน้นกระบวนการเรียนรู้หาความรู้ที่มีความเคลื่อนไหวมากกว่าการเป็นสถาบันที่แข็งตัว  
เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วม มีการเชื่อมโยงออกสู้ชุมชนบ้านโรงเรียน โดยใช้ การสื่อสารออกไปสู่สภาพแวดล้อมภายนอก
วิสัยทัศน์ :เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ให้ความรู้เรื่องความเป็นมาของบ้านเมือง จนมาเป็นประเทศไทยใน 
ปัจจุบัน เพื่อก่อให้เกิดการเรียนรู้ สร้างสำนึกรักบ้านเมืองและท้องถิ่นของตน รวมทั้งเชื่อมโยงความสัมพันธ์ในลักษณะเครือญาติกับประเทศเพื่อนบ้านอันเป็นองค์ความรู้ที่นำไปสู่ความมั่นคงและสันติภาพในภูมิภาค
กลุ่มเป้าหมาย : เป้าหมายหลักคือคนไทย ประกอบด้วย เด็ก เยาวชน นักเรียน นักศึกษา กลุ่มเป้าหมายรองคือคนต่างประเทศ นักท่องเที่ยว
4.2   แหล่งที่มาของศูนย์
ตอบ รัฐบาลมีภารกิจที่สำคัญ คือ การทำให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ทำให้คนไทยมีคุณภาพด้วยการที่สามารถแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ด้วยตนเองได้ตลอดเวลา ดังนั้นสังคมจึงควรมีแห่งที่จะแสวงหาความรู้ที่มีความหลากหลายในรูปแบบปละเนื้อหา ในประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนมากจะมีแหล่งหาความรู้สำหรับคนในแต่ละช่วงวัย และมีความสนใจต่างๆ โดยมีทั้งห้องสมุด พิพิธพันธ์ ศูนย์วัฒนธรรม ศูนย์นันทนาการและกีฬาโรงละคร หอศิลป์ และสถานที่แสดงดนตรี รวมทั้งสนับสนุนให้ ชุมชนมีกิจกรรมเพื่อการเติบโตของความรู้สติปัญญา และความงอกงามของจิตใจ สำหรับประเทศไทยซึ่งจำเป็นต้องขยายโอกาสทางการศึกษา ด้วยสถาบันใหม่ที่จะมารองรับการศึกษายุคปฏิรูปให้ทันกับโลกยุคการเรียนรู้ แบบไร้ขีดจำกัด เพราะคุณภาพชีวิตของวัยรุ่นใหม่ให้คุณค่าต่อการศึกษาเรียนรู้ ที่ทำให้สามารถเข้าใจโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วสามารถเข้าใจปัญหาที่เผชิญหน้าควบคู่ไปกับความเพลิดเพลิน ประเทศจึงต้องการ พิพิธภัณฑ์ในฐานะที่เป็นสถาบันใหม่ที่สะท้อนความมั่นคงของสังคม วัฒธรรม ลักษณะเฉพาะตน และความภาคภูมิใจในสังคมของตน

5.    ให้นิสิตแต่ละคนหาตัวอย่างผังโครงสร้างของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ มาคนละ 2 ผังโครงสร้าง พร้อมเขียนอธิบายดังนี้
ตอบ
      5.1  แหล่งอ้างอิงของโครงสร้างศูนย์
      5.2 โครงสร้างดังกล่าวเป็นประเภทใด เพราะเหตุใด

1.โครงสร้างองค์กรพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

ประเภท : การศึกษาตามอัธยาศัย เพราะการศึกษาที่เกิดขึ้นตามวิถีชีวิตที่ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อม และโอกาส



2.โครงสร้างการบริหารงานสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ




ประเภท : การศึกษานอกระบบโรงเรียน เพราะเป็นการศึกษาที่จัดให้กับประชาชนทุกเพศ ทุกวัย ไม่จำกัดพื้นฐานการศึกษา อาชีพ ประสบการณ์หรือความสนใจ
แหล่งที่มา http://lib.arit.rmutp.ac.th/about/