วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2554

แบบฝึกหัดหน่วยการเรียนรู้ที่ 5

1.อธิบายภารกิจหรือกิจกรรมที่สำคัญ ของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้มีอะไรบ้าง
ตอบ 1. การจัดหาสื่อประเภทต่างๆ ไว้สำหรับบริการ
        2. การผลิตสื่อเพื่อนำมาใช้ในการเรียนการสอน
        3. การจัดระบบ จัดเก็บ แยกหมวดหมู่และจัดทำทะเบียน
        4. การบริการให้ยืมวัสดุ เครื่องมืออุปกรณ์
        5. การให้คำปรึกษา แนะนำการใช้และการผลิตสื่อ
        6. การวิจัยและพัฒนาสื่อ

2.ถ้าหากพิจารณาบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้จะประกอบด้วยบุคคลด้านต่างๆดังนี้
ตอบ  1. ด้านบริหาร โดยต้องมีการกำหนดวิสัยทัศน์ จุดมุ่งหมายและภารกิจต่างๆ ให้ครอบคลุมงานหรือสิ่งที่ต้องทำ โดยต้องมีฝ่ายรับผิดชอบ ดังนี้
          1.1    หัวหน้าหน่วยงาน ซึ่งอาจเรียกได้ว่า หัวหน้าศูนย์หรือผู้อำนวยการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ก็ได้
          1.2    หัวหน้างานหรือหัวหน้าฝ่าย จะมีหน้าที่ความรับผิดชอบงานในแต่ละฝ่าย
          1.3    เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป จะมีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการควบคุมการจัดการงานต่างๆ
          1.4    พนักงานธุรการ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านต่างๆ 
           1.5    เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล จะมีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการบันทึกข้อมูลต่างๆลงในคอมพิวเตอร์หรือพิมพ์เอกสาร
                2. ด้านการบริการ เป็นภารกิจของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ที่นำโครงการต่างๆออกสู่ กลุ่มเป้าหมาย
            2.1  บรรณารักษ์ โดยจะมีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดหา
2.2  นักวิชาการคอมพิวเตอร์ จะมีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการติดตั้งการใช้คอมพิวเตอร์
2.3 นายช่างอิเล็กทรอนิกส์ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการซ่อมบำรุงรักษา ติดตั้ง
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
2. ด้านการผลิตสื่อ บุคลากรที่มีหน้าที่รับผิดชอบ
นักวิชาการโสตทัศนศึกษา จะมีหน้าที่ความรับผิดชอบในการออกแบบและผลิตสื่อการเรียนการสอนในระดับต่างๆ
นักวิชาการช่างศิลป์ จะมีหน้าที่ความรับผิดชอบในด้านการออกแบบภาพประเภทต่างๆ
3. ด้านวิชาการ ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ต้องมีบทบาทและหน้าที่ในการศึกษาค้นคว้า
4. ด้านการปรับปรุงการเรียนการสอน ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ต้องมีภารกิจหน้าที่ความรับผิดชอบต่อการศึกษาเป็นสำคัญ
5. ด้านกิจกรรมอื่น เช่น มีบทบาทหน้าที่ประชาสัมพันธ์สถาบันต่อชุมชนจัดนิทรรศการหรือจัดการแสดงความก้าวหน้าต่างๆ

3.ผู้ปฏิบัติงานในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ จำแนกเป็นประเภท3 ประเภทใหญ่ๆ คือ
     1. บุคลากรทางวิชาชีพ ได้แก่ บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ทางด้านเทคโนโลยีทางการศึกษาหรือโสตทัศนศึกษาระดับปริญญาซึ่งถือว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ (Media Specialists) หรือบางที่อาจเรียกว่านักวิชาการการโสตทัศนศึกษาก็ได้
      2 บุคลากรกึ่งวิชาชีพ บุคลากรกึ่งวิชาชีพ คือ บุคคลที่ได้วุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพโดยมีหน้าที่ช่วยเหลือบุคลากรทางวิชาชีพเกี่ยวกับด้านเทคนิค
หรือด้านบริการ
      3 บุคลากรที่ไม่มีความรู้ทางวิชาชีพ บุคลากรประเภทนี้ทำหน้าที่ทางด้านธุรกิจ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ฯลฯ

4.ท่านมีขั้นตอนในการจัดหาสื่อการเรียนการสอน มาใช้บริการในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
ขั้นตอนที่ 1 เป็นขั้นการสำรวจสภาพของสื่อในสถานศึกษาเพื่อสำรวจหาข้อเท็จจริงเบื้องต้นเป็นข้อมูลมาประกอบการจัดหา1.การสำรวจสื่อวัสดุ  2. การสำรวจเครื่องมือ
ขั้นตอนที่ 2 การสำรวจสถานที่ เป็นขั้นตอนการสำรวจวางแผนจะให้สถานที่ส่วนใดบ้างในการทำกิจกรรม เพื่อเป็นการตรวจสอบดูว่ามีสถานที่  และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ต้องการมีเพียงพอแล้วหรือยังและจะต้องการจัดหาอะไรเพิ่มเติมบ้าง
ขั้นตอนที่ 3 การสำรวจความต้องการของผู้ใช้ เพื่อต้องการทราบถึงความต้องการใช้สื่อประเภทต่างๆ โดยนำข้อมูลที่ได้ไปดำเนินการจัดหาให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช
ขั้นตอนที่ 4 เป็นขั้นการจัดหา โดยนำข้อมูลที่ได้มาจากความต้องการแล้วทำเป็นโครงการสั้นๆ หรือโครงการระยะยาวเพื่อวางแผนในเรื่องงบประมาณในการจัดหาต่อไป

5.อธิบายวิธีการจัดซื้อจัดหาวัสดุครุภัณฑ์เพื่อมาใช้ในกิจกรรมและบริการ ท่านมีหลักเกณฑ์สำคัญ อะไรบ้าง
     1.ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ควรมีแหล่งที่จำหน่ายโสตทัศนูปกรณ์แต่ละประเภทไว้สำหรับเป็นข้อมูลในการจัดซื้อ
     2.ผู้ทำหน้าที่ในการจัดหาสื่อ ควรไปศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องมือจากแหล่งร้านค้า เพื่อติดตามการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสื่อและจะได้มีโอกาสศึกษาจากเครื่องมือหรืออุปกรณ์นั้นโดยตรง
     3.ควรสำรวจราคาของสื่อแต่ละประเภทเป็นระยะๆเพื่อประโยชน์ในการจัดตั้งงบประมาณ

6.การบริหารงานบุคคลหมายถึงศิลปะในการสรรหาและคัดเลือกบุคคลเข้ามาทำงานในองค์การ มอบหมายงาน พัฒนาบุคคลและให้พ้นจากงาน โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพของเป้าหมายหรือบริการของศูนย์ฯ หรือหน่วยงานเป็นสำคัญ

7.หลักการบริหารงานบุคคลมี 2 ระบบ คือ   
             1. ระบบคุณธรรม Merit System ใช้หลักเกณฑ์
                  1.1 หลักความเสมอภาค เช่น มีสิทธิสอบได้ทุก
                  1.2 หลักความสามารถ เช่น คัดเลือกผู้มีความสามารถสูงไว้ก่อน
                  1.3 หลักความมั่นคง เช่น ถ้าไม่ผิดวินัย ก็ไม่ถูกลงโทษให้ออก อยู่จนเกษียณ
                  1.4 หลักความเป็นกลางทางการเมือง เช้า ห้ามข้าราชการเป็นกรรมการบริษัท
              2. ระบบอุปถัมภ์ Patronage System ยึดถือพวกพ้อง เครือญาติ หรือผู้มีอุปการคุณ

8.การจำแนกตำแหน่ง จำแนกได้ 3 ประเภท คือ
           1.จำแนกตำแหน่งตามลักษณะตำแหน่ง Position Classification เป็นการจำแนกตำแหน่งโดยถือ ลักษณะความรับผิดชอบของตำแหน่งเป็นสำคัญ
           2.การจำแนกตำแหน่งตามลักษณะยศ Rank Classification เป็นการจำแนกตำแหน่งตามตำแหน่งที่ประกอบกับชั้นยศ ใช้กับทหาร ตำรวจ
            3.การจำแนกตำแหน่งตามลักษณะชั้นยศทางวิชาการ Academic Rank Classification จำแนก  ตามคุณลักษณะความเชี่ยวชาญ วิชาการ เช่น ครู อาจารย์

9.ขั้นตอนของกระบวนการวางแผนกำลังคน ได้แก่
          1. ศึกษานโยบายและแผนขององค์การ กระบวนการวางแผนกำลังคนต้องให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนขององค์การ
          2.การตรวจสภาพกำลังคน; ค้นหาอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับสภาพกำลังคนที่มีอยู่ในองค์การ
          3.การพยากรณ์ความต้องการกำลังคน คล้ายกับการตรวจสภาพกำลังคน แต่การพยากรณ์มุ่งเน้นอนาคต
          4.การเตรียมหาคนสำหรับอนาคต

10.การงานแผนกำลังคนที่ดีต้องทราบสาระดังนี้
          1. ภาระงาน หน้าที่ความรับผิดชอบชั่วโมงงาน
          2. การออกแบบงาน  เป็นการออกแบบโครงสร้างงานต่างๆ ทั้งองค์การว่ามีกลุ่มงานอะไรบ้าง
          3. การวิเคราะห์งาน วิเคราะห์งานแต่ละตำแหน่ง กำหนดคุณลักษณะที่จำเป็นแต่ละตำแหน่ง
          4. รายละเอียดของตำแหน่งงาน เป็นการกำหนดชื่อตำแหน่งงานที่ต้องปฏิบัติ
          5. คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง เป็นการกำหนดรายละเอียดในตำแหน่งลึกลงไปอีก
          6. การทำให้งานมีความหมาย เป็นวิธีการจูงใจและพัฒนาบุคลากรให้เกิดความพึงพอใจในการทำงาน

11.บุคลากรด้านทรัพยากรการเรียนรู้มี 3 ประเภท
          1.ด้านบริหาร โดยมีการกำหนดวิสัยทัศน์ จุดมุ่งหมายและภารกิจต่างๆ
          2.ด้านการบริการ เป็นภารกิจของศูนย์สื่อการศึกษาที่นำโครงการต่างๆออกสู้กลุ่มเป้าหมาย
          3.บุคลากรด้านการผลิตสื่อ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น